Plant based Food พืชใช้แทนเนื้อสัตว์ ผู้รักสุขภาพแถมดีต่อโลก

Plant based Food เนื้อสัตว์จากพืช ชุ่มชื่นหัวใจสายรักสุขภาพแถมดีต่อโลก

Plant based คือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพืช100% ออกมาในรูปแบบเเละรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ กุ้ง เเละเนื้อสัตว์ต่างๆ ทำให้เสมือนว่าได้ทานเนื้อสัตว์ ถือเป็นความแปลกใหม่โดยไม่รู้สึกผิดของคนรักสุขภาพ

ปัจจุบันอุสาหกรรมอาหารก้าวหน้าและตอบโจทย์ของคนทุกเพศทุกวัยรวมทั้งปัจจัยการใช้ชีวิตด้วย โดย Plant based คืออาหารทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภค หรือผู้ที่ต้องการ งด เลี่ยง ลดการทานเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และผู้ที่ต้องการทานอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งอาหาร Plant-based Food ส่วนมากจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่ทำมาจากพืช ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ เห็ด เมล็ดพืช ธัญพืช และตระกูลถั่ว

“Paleo Diet” ลดน้ำหนักแบบมนุษย์ถ้ำตัดวงจรอาหารขยะและผงปรุงรสชาติ

สารพัดคุณประโยชน์ของน้ำผึ้ง “น้ำตาลธรรมชาติ” ชุ่มคอแก้ไอสดชื่น

Plant based Food เนื้อสัตว์จากพืช ชุ่มชื่นหัวใจสายรักสุขภาพแถมดีต่อโลก

เป็นส่วนประกอบหลักอย่างน้อย 95% และที่สำคัญคือต้องไม่มีเนื้อสัตว์ผสม เน้นการได้โปรตีนจากพืช นำมาแต่งสี และกลิ่น เพื่อให้มีรสชาติ และรสสัมผัสที่มีความคล้ายกับเนื้อสัตว์มากที่สุด

Plant based Food

  • ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ ทำให้ย่อยง่าย
  • มีพืชเป็นส่วนประกอบหลักอย่างน้อย 95%
  • ปราศจากคอเลสเตอรอล ช่วยลดอัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวกับไขมัน
  • ไม่ใช่พืช GMO (การตกแต่งทางพันธุกรรม) ปลอดภัยต่อร่างกาย
  • ไม่มีการฉีดฮอร์โมน

ส่วนคนที่กังวลว่าการทาน Plant based Food จะขาดสารอาหาร แต่อาหารชนิดดังกล่าว ทำมาจากพืชตระกูลถั่ว เห็ด และธัญพืชต่างๆ ซึ่งในถั่วเหลืองและเห็ด ก็เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชชั้นดี ในส่วนของคาร์โบไฮเดรต ก็จะอยู่ในข้าว แป้ง และพืชตระกูลหัว อย่างเผือก มัน และถั่ว ขณะที่ วิตามิน และ แร่ธาตุ สารอาหารส่วนนี้จะมีอยู่ในพืชผัก ผลไม้ แทบทุกชนิดอยู่แล้ว ขณะที่ไขมันก็จะได้มาจาก จากน้ำมันพืช ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันธัญพืชชนิดต่างๆ ซึ่งไขมันเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้อาหาร Plant-based มีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม และชุ่มฉ่ำคล้ายเนื้อสัตว์เลย

Plant based Food เนื้อสัตว์จากพืช ชุ่มชื่นหัวใจสายรักสุขภาพแถมดีต่อโลก

การเปลี่ยนมารับประทานอาหารแบบ Plant-based diet จะช่วยลดไขมันอิ่มตัว เพิ่มใยอาหารและสารพฤกษเคมี (phytochemical) ซึ่งเป็นสารเคมีที่พบเฉพาะในพืช มีการศึกษามากมายที่รับรองว่า การรับประทานอาหารแบบ Plant-based diet มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการได้รับไขมันอิ่มตัวและระดับ TMAO (Trimethylamine N-oxide) จากเนื้อสัตว์น้อยลง
  • ลดความเสี่ยงโรคอ้วน ช่วยรักษาระดับน้ำหนักตัวให้เหมาะสม จากการลดปริมาณไขมันจากเนื้อสัตว์ และการรับประทานใยอาหารที่เพิ่มขึ้นทำให้รู้สึกอิ่มท้อง
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดที่เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปและเนื้อแดง รวมทั้งพืชยังอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมีที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้
  • เพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบในร่างกาย สารพฤกษเคมีต่างๆในพืช มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการเกิดสารอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ (NCDs)
  • เสริมความแข็งแรงของแบคทีเรียในลำไส้ (probiotics) ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ใยอาหารช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดดีที่ทำหน้าที่ปกป้องทางเดินอาหาร ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคไต เพราะการรับประทานโปรตีนจากสัตว์มีความสัมพันธ์กับการทำงานของไตที่ลดลงและการเกิดโรคนิ่วในไต
  • รักษาสภาพแวดล้อม เพราะเนื้อสังเคราะห์ (Plant-Based Meat) ที่ทำมาจากพืชและส่วนประกอบของสารสกัดจากธรรมชาติ จะไม่ส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อไม่มีการปศุสัตว์หรือการเลี้ยงสัตว์ รวมไปถึงขั้นตอนการผลิตที่รบกวนต่อธรรมชาติ พร้อมถูกปรับเปลี่ยนให้กลายมาเป็นพื้นที่ของการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรทั่วไปที่มากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยทำให้สภาพแวดล้อมกลับคืนมาสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งได้อย่างรวดเร็ว
  • ลดปัญหาอาหารขาดแคลนในอนาคต เมื่อเนื้อสัตว์ถูกทำมาจากพืช การเกษตรจะเฟื่องฟูมากขึ้นและถ้าสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าเดิม ย่อมมีปริมาณของอาหารที่เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญคือเนื้อ Plant-Based Meat สามารถทำออกมาได้โดยที่มีการสูญเสียทรัพยากรต่ำกว่าการผลิตเนื้อสัตว์จริงหลายเท่า ดังนั้นจึงทำให้ปัญหาอาหารขาดแคลนและไม่เพียงพอต่อผู้คนทั่วโลกในอนาคตจะลดต่ำลงเรื่อยๆ และทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับอาหารที่มีอย่างเพียงพอ ที่สำคัญคือเนื้อชนิดนี้จะช่วยทำให้โลกของเรา กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

“อย่าลืมมื้อแรก” แนะวัสดุดิบคุณภาพหาซื้อง่ายลดป่วยเสริมภูมิต้านทาน

อย่างไรก็ตาม เนื้อเทียมจากห้องแล็บพวกนี้มีปริมาณโซเดียมแซงหน้าเนื้อวัวและเนื้อไก่งวงอย่างขาดลอย อย่างเช่นเนื้อวัวปกติจะมีปริมาณโซเดียมอยู่ที่ 65-75 มิลลิกรัมต่อชิ้น แต่ Impossible Burger หรือ Beyond Burger กลับมีโซเดียมถึงเกือบ 370 และ 390 มิลลิกรัมตามลำดับ ขณะที่เนื้อไก่งวงอยู่ที่ 95-115 มิลลิกรัม ส่วนเบอร์เกอร์ผักมีโซเดียมสูงกว่า 400 มิลลิกรัม โดยขึ้นอยู่กับปริมาณเกลือที่ใส่เพิ่มรสชาติซึ่งการกินอาหารที่ผ่านกระบวนการน้อยกว่า สดใหม่กว่า ก็อาจดีกับร่างกายมากกว่า อย่างไรก็ตามเชื่อว่าอุตสาหกรรมอาหารจะมีอะไรมาทำให้เราตื่นตาตื่นใจและดีต่อสุขภาพอีกมากมายอีกแน่นอนค่ะ

ที่มา:https://www.pptvhd36.com/health/food/1813