นักวิจัย มก.พบแมลงกลุ่ม “ผึ้ง ต่อ แตน” 11 วงศ์ที่สะแกราช เป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตร

นักวิจัยจากคณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรฯร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยจังหวัดนครราชสีมาศึกษาวิจัยแมลงในอันดับ Hymenoptera ในพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา พบแมลงกลุ่ม ผึ้ง ต่อ แตน มีบทบาทสำคัญทางสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเกี่ยวกับพืชถึง 11 วงศ์ จาก 27 สกุล 30 ชนิด ระบุทั้งผึ้งและชันโรงผสมเกสร แตนตัวห้ำ แตนตัวเบียน ต่อนักล่าแมลงศัตรูพืช และต่อตัวเบียน ชี้เป็นแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศและภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก

ดร.ดวงทิพย์ กันฐา นักวิชาการเกษตร ชำนาญการ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ร่วมกับนายวิศรุต สุขะเกตุ,นักทดลองวิทยาศาสตร์วิจัยนางสาวภาวินี เขตร์นนท์, ผู้ช่วยนักวิจัยและ ดร.คนึงนิจ บุศราคำ,นักวิจัยอาวุโสศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยจังหวัดนครราชสีมาทำการศึกษา สำรวจ และจำแนกแมลงในอันดับ Hymenoptera ในพื้นที่ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม พ.ศ.2562 ซึ่งสภาพป่าของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพรรณไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิด

                                                                 ภาพที่1

การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายและความหนาแน่นของแมลงกลุ่ม Hymenoptera ในเขตพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชและแมลงผสมเกสร ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช และจากผลการศึกษาพบว่า มีความแมลงชนิดต่างๆตามทฤษฎี Shannon-Wiener Index of Diversity เท่ากับ 1.869 และมี Species Evenness ที่ 0.899 โดยพบแมลงในอันดับ Hymenoptera (กลุ่ม ผึ้ง ต่อ แตน) ที่มีบทบาททางสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ 11 วงศ์ จาก 27 สกุล 30 ชนิด จำนวน 356 ตัวทั้งผึ้งและชันโรงผสมเกสร แตนตัวห้ำ แตนตัวเบียน ต่อนักล่า และต่อตัวเบียน ซึ่งเป็นแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศและทางด้านการเกษตร

งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร: ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาISSN 1513 9980เรื่องความหลากหลายและความหนาแน่นของแมลงกลุ่ม Hymenoptera ดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช

จากการผลการเก็บตัวอย่างแมลงในอันดับ Hymenoptera สามารถจำแนกได้เป็น 11 วงศ์ 27 สกุล และ 30 ชนิดที่แตกต่างกัน มีดังต่อไปนี้

                                                         ภาพที่2

1. Apidae หรือผึ้ง แมลงผสมเกสรที่สำคัญ (ภาพที่ 2a, b ภาพที่ 4-3, 4-17 และ 4-26) และชันโรงหรือผึ่งจิ๋วซึ่งมีประโยชน์โดยการผสมเกสรให้กับพืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ลำใย ลิ้นจี่ มะม่วง กาแฟ ฯลฯ (ภาพที่ 2 h, ภาพที่ี 4-9 และ 4-1)

2.Braconidaeถูกสำรวจพบในครั้งนี้ 1 ชนิด คือ Ischnobraconhannongbuai(ภาพที่ 2 e, ภาพที่ี 4-23) ซึ่งเป็นตัวเบียนของแมลงศัตรูพืช ได้แก่ หนอนผีเสื้อกลางวันและหนอนผีเสื้อกลางคืน และหนอนด้วงบางชนิด

3.Chalcidaeจากการสำรวจในครั้งนี้แตนเบียนชนิดนี้พบได้จากดักแด้ของเหยื่อซึ่งเป็นหนอนผีเสื้อกลางวันในวงศ์ขาหน้าพู่ (ภาพที่ 2 g) ในระยะตัวเต็มวัย (free-living) เป็นแมลงผสมเกสร

4.Eumenidaeเป็นแตนที่มีพฤติกรรมในการสร้างรัง (ภาพที่ 2 c และ2 d) ตัวเต็มวัยเป็นตัวห้ำที่มีประโยชน์โดยออกล่าเหยื่อกินแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นเป็นอาหาร

ภาพที่ 3

5.Formicidae เป็นกลุ่มมด และอาศัยรวมกันเป็นสังคมและมีบทบาทที่สำคัญต่อระบบนิเวศ จากการศึกษาในครั้งนี้พบมดจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Polyrhachisarmata, มดหนามกระทิงดำCamponotussp. ,มดตะลาน Diacammarugosum, มดกำมะหยี่ และ Tetraponeranigra,มดตะนอยดำ (ภาพที่3  a,  b,  c และ  d) ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยบริเวณพื้นดินเป็นหลัก และสามารถไต่ตามต้นไม้ได้ แต่ไม่มีปีกในวรรณะที่ออกหาอาหาร

6.Ichneumonidae เป็นแตนเบียนที่มีความสำคัญมากและเป็นแตนเบียนตัวอ่อนของ ด้วงผีเสื้อ และผีเสื้อกลางคืน (ภาพที่ 4-2, 4-20 และ 4-25)

7.Pompilidaeเป็นต่อแมงมุม ต่อชนิดนี้จะล่าแมงมุมเป็นอาหาร (ภาพที่ 4-22)

                                                          ภาพที่4

8. Scoliidaeคือต่อรู เป็นตัวเบียนของด้วงกลุ่ม Scarabaeidaeซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืช โดยที่ตัวเมียจะขุดหลุมลงไปในดินเพื่อหาตัวอ่อนของด้วงกลุ่มนี้ จากนั้นจึงต่อยหนอนด้วงด้วยเหล็กในเพื่อทำให้เป็นอัมพาต และจึงวางไข่ไว้ในเหยื่อ (ภาพที่ 4-13 และ 4-15)

9.Sphecidaeเป็นตัวห้ำ ของหนอนผีเสื้อแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ ทำรังอาศัยในรูในดิน โดยมีพฤติกรรมจับตัวอ่อนของแมลงโดยการต่อยด้วยเหล็กในทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต แล้วนำกลับไปที่รังเพื่อให้เป็นอาหารของตัวอ่อนของตัวเอง (ภาพที่ 2f, 4 -8, 4-10, 4-11 และ 4-19)

10.Stephinidaeเป็นแตนเบียนโบราณอวัยวะวางไข่หรือ ovipositor ที่มีขนาดยาวกว่าลำตัว ซึ่งเอาไว้ใช้ในการเจาะผ่านลำต้นของต้นไม้ไปยังตัวอ่อนของด้วงและผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด (ภาพที่4-5)

11.Vespidae เป็นตัวห้ำ อาศัยอยู่รวมกันเป็นสังคม โดยมีราชินีเป็นผู้ควบคุมรัง และ worker ที่เป็นตัวเมีย รังมักทำจากโคลน หรือเส้นใยจากพืชที่ worker นำกลับมาที่รังผ่านการเคี้ยวและย่อยออกมาทำรัง ทำให้ดูคล้ายกระดาษ (ภาพที่ 4-4, 4-6, 4-7 และ 4-16)