มุมมองผู้บริหารระดับสูง จากบริษัทแนวหน้าของอุตสาหกรรมปศุสัตว์-อาหาร วีเอ็นยูฯ รวมผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐ-เอกชนร่วมแบ่งปันวิสัย

เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงผ่านมุมมองผู้บริหารระดับสูง จากบริษัทแนวหน้าของอุตสาหกรรมปศุสัตว์-อาหาร

วีเอ็นยูฯ รวมผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐ-เอกชนร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ผ่านงาน Dinner Talk เมื่อเร็วๆ นี้

เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จัดงาน Dinner Talk ภายใต้หัวข้อ Food for Good: Best Practices and Lesson Learned – เรียนรู้จากแนวทางปฏิบัติ สู่บทเรียนจริงของการบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นงานสุดพิเศษสำหรับบรรดาผู้บริหารและผู้นำต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ สมคม สถานทูต ตลอดจนภาคเอกชน นำโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ, ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ซึ่งให้เกียรติมาแบ่งปันมุมมองเชิงลึกและทิศทางเศรษฐกิจระดับประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีช่วงเสวนาซึ่งเป็นไฮไลท์สำคัญของงาน ดำเนินรายการโดย คุณไฮโก เอ็ม ชตุสซิงเงอร์ ผู้อำนวยการ วิฟ เวิร์ดไวด์ และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค และ บริษัท วีเอ็นยู ยุโรป ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ / คุณจักริน แต้ไพสิฐพงษ์  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร กลุ่มงานบริหารส่วนกลาง เครือเบทาโกร / คุณวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้แบ่งปันประสบการณ์จากหลากหลายมุมมองสำหรับ วิธีการนำหัวใจมาใช้ในการผลิตอาหาร – สร้างทรัพยากรบุคคล – สร้างบรรจุภัณฑ์ และ สร้างแบรนด์ให้ยั่งยืน ซึ่งนำเสนอแนวทางการบริหารอย่างมืออาชีพที่นำมาใช้จริงในการบริหารงานขององค์กร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ข้อคิดและกลยุทธ์ใหม่ๆ ในการประยุกต์ใช้เข้ากับการพัฒนาธุรกิจต่อไป ภายในงานคับคั่งด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 170 ราย พร้อมด้วยแขกจากต่างประเทศที่ไม่สามารถมาร่วมงานได้และรับชมผ่านการถ่ายทอดสดมากกว่า 100 รายในวันดังกล่าว

  • แนวโน้มของธุรกิจการผลิตอาหารและโปรตีนจากเนื้อสัตว์ / ความสำคัญของการจัดงานแสดงสินค้า

คุณอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธีให้เกียรติกล่าวเปิดงานและปาฐกถาในหัวข้อความสำคัญของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ โดยกล่าวว่า ”อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและโปรตีนจากสัตว์นั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะคนไทยมีสัดส่วนของการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นโปรตีนหลักในชีวิตประจำวัน ดังนั้นทางภาครัฐจึงพร้อมที่จะรองรับความต้องการของตลาดดังกล่าวและติดตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดปศุสัตว์ในประเทศตลอดเวลา อนึ่งการจัดงานแสดงสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์โดยตรงอย่าง VIV Asia (วิฟ เอเชีย) และ Meat Pro Asia (มีท โปร เอเชีย) ก็นับเป็นอีกกลไกให้การกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจระดับประเทศที่น่าจับตามอง ผมจึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการทุกท่านให้การสนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งของงานที่สำคัญนี้”

คุณจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ให้เกียรติเข้าร่วมแบ่งปันข้อมูลในประเด็น การพัฒนาประเทศไทยสู่จุดหมายปลายทางที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรม โดยกล่าวว่า “กรุงเทพฯ ครองอันดับ 2 จากผลการจัดอันดับเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางของการจัดงานที่มีศักยภาพและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน จาก GDS-Index ประเทศของเราเป็นรองแค่เพียงกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ผมเชื่อมั่นว่าทุกท่านจะภูมิใจกับผลการจัดอันดับในครั้งนี้ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศเรามีศักยภาพ แต่เนื่องจากการจัดอันดับมีทั้งขาขึ้น-ลง สิ่งที่ดีที่สุดที่ผู้จัดงานทุกท่านจะทำได้คือการรักษามาตรฐานการจัดงานและพยายาม มุ่งมั่นที่จะรักษาความยั่งยืนนี้ไว้ ซึ่งทาง สสปน. เราก็เข้าใจเป็นอย่างยิ่งและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดงานแสดงสินค้าอันจะเป็นกลไกที่สำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน และพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งของประเทศไทยต่อไป”

คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หนึ่งในวิทยากรหลักของการจัดงานได้ให้เกียรติมากล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวถึง “ความสำคัญระหว่างภาครัฐ-เอกชน ที่ต้องผสานความร่วมมือในการเร่งแก้ไขปัญหาภาวะทุพภิกขภัย หรือ สภาวะของการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นวิกฤตระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนในอนาคตที่ทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญ ดังนั้นการจัดงานแสดงสินค้าอันมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร-ปศุสัตว์จึงมีความสำคัญในการแก้ปัญหาความขาดแคลนในอนาคต ในส่วนของภาคเอกชนก็ควรนำแนวคิดการบริหารธุรกิจโดยตระหนักถึงผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคมส่วนรวม แน่นอนว่าการพูดนั้นง่ายกว่าการกระทำ แต่มันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อท่านเริ่มเปลี่ยนมุมมองและ DNA ขององค์กรของท่านเอง”

  • บทเรียนการนำหัวใจมาใช้ในการผลิตอาหาร / สร้างทรัพยากรบุคคล / สร้างบรรจุภัณฑ์ และสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืน

คุณประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหารของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด ได้ให้เกียรติแบ่งปันวิธีการนำหัวใจมาใช้ในการผลิตอาหารให้ยั่งยืน โดยกล่าวว่า เป้าหมายหลักของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร คือ การผลิตอาหารที่เต็มด้วยสารอาหาร และเป็นราคาที่เข้าถึงได้ในทุกกลุ่มลูกค้า เพื่อการนี้ทางบริษัทจึงได้นำเอาเทคโนโลยีอย่าง Internet of Things (IoT), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ เพื่อมาประยุกษ์ใช้ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในทุกกระบวนการ ตั้งแต่โรงงานผลิตอาหารจนถึงโรงเชือด ตลอดจนระบบขนส่งจนจบที่โต๊ะอาหารของผู้บริโภค และอีกส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือการบริหารทรัพยากรบุคคล อันจะเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร เพราะพวกเขาคือฟันเฟืองสำคัญในการนำเอาใจใส่ในทุกๆขั้นตอนการผลิตอย่างแท้จริง”

คุณจักริน แต้ไพสิฐพงษ์  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร กลุ่มงานบริหารส่วนกลาง เครือเบทาโกร ได้ให้เกียรติแบ่งปันประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนมุมมองในการบริหารบุคลากรของเครือเบทาโกร ด้วยแนวคิด Purpose Driven Organization ที่ช่วยหล่อหลอมให้คนในองค์กรมีความเป็นหนึ่งเดียวกันและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้คำว่า “ One Thought, One Goal & Direction และ One Team ซึ่งเป็น 3 คำที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายในอนาคตร่วมกัน การหาจุดสมดุลระหว่างกำไร บุคลากร และ สิ่งแวดล้อม นั้นคือ การนำหัวใจมาใช้ในการสร้างทรัพยากรบุคคลของเรา”

คุณวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้เกียรติแบ่งปันประสบการณ์การนำหัวใจมาใช้ในการสร้างบรรจุภัณฑ์ และสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืน คุณวิศิษฐ์กล่าวว่า “การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 นั้นทำให้บรรจุภัณฑ์อาหารมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องมาจากความกังวลในเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร และความนิยมในการใช้บริการจัดส่งอาหาร สำหรับส่วนสำคัญของบรรจุภัณฑ์นั้นต้องมีการออกแบบที่น่าดึงดูด สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อย่างยั่งยืน ในด้านแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้กับบรรจุภัณฑ์นั้น ได้มีการนำระบบบ่งชี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID มาปรับใช้กับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มากไปกว่านั้น ขณะนี้มีผู้ผลิตหลายรายพยายามที่จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์ของตนมากขึ้นผ่านทาง QR code บนบรรจุภัณฑ์”

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ทางคณะผู้จัดงาน ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการจาก บริษัท Ceva Animal Health, บริษัท Big Dutchman ตลอดจน บริษัท Munters ผู้ร่วมสนับสนุน ตลอดจน สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ และพันธมิตรสื่อที่ช่วยประชาสัมพันธ์การจัดงานอย่างต่อเนื่องทั้ง นิตยสาร Asia Food and Beverage, หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์, นิตยสาร Food Focus Thailand, นิตยสาร INNOLAB, หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, ปศุศาสตร์ นิวส์ และ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ทางวีเอ็นยูฯ ผู้จัดงานแสดงสินค้า VIV Asia (วิฟ เอเชีย) และ Meat Pro Asia (มีท โปร เอเชีย) พร้อมที่จะนำเสนองานแสดงสินค้าและงานประชุมสัมมนาระดับภูมิภาคเพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในภาคการผลิตโปรตีนจากเนื้อสัตว์ตลอดจนกระบวนการผลิตอาหาร และเป็นศูนย์หลางของการอัพเดทเทคโนโลยี ข่าวสารของอุตสาหกรรมจากทั่วโลกสู่ตลาดเอเชีย ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารการจัดงานและกิจกรรมที่น่าสนใจได้ทาง www.vivasia.nl และ www.meatpro-asia.com หรือโทร. 02-1116611 (วีเอ็นยูฯ)